โละบ้านทั้งที เอาไปทิ้งที่ไหนดีนะ?
โดย : imnat
ปีใหม่ได้เวลาจัดบ้านใหม่
อะไรที่ไม่ได้ใช้ ได้เวลาเคลียร์!
เป็นประจำทุกปี ที่พอเข้าสู่ช่วงปีใหม่ บรรดาพ่อบ้านแม่บ้านทั้งหลายก็ได้เวลาจัดเก็บบ้านกันยกใหญ่ แล้วข้าวของต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้รวมถึงเศษซากของเจ้าขยะตัวร้ายจะเอาไปไว้ที่ไหน วันนี้ปันโปรเรามีทางออกมาให้แล้ว~
เริ่มกันที่ผู้อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อไม่นานมานี้สำนักงานเขตพื้นที่ทั้งหมด 50 เขตได้ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษในการรับคืนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียหรือไม่ได้ใช้งานแล้ว เพื่อนำส่งต่อไปยังขั้นตอนของการรีไซเคิล ซึ่งสำหรับชาวกรุงเทพฯ คนไหนที่สนใจสามารถนำส่งได้ที่สำนักงานเขตที่ตนเองอาศัยอยู่ หรือใครสะดวกส่งที่กรมควบคุมมลพิษก็ได้เช่นกัน ตั้งแต่วันที่ 14 - 29 ธ.ค. 62 นี้เท่านั้นนะ
โดยที่มาของกิจกรรมนี้มาจากปริมาณตัวเลขของขยะประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีเยอะมาก และที่สำคัญคือไม่สามารถนำมาทิ้งปนกันกับขยะทั่วไปได้ ไม่เช่นนั้นสารพิษอาจรั่วไหล จนทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ ซึ่งหลังจากที่กทม. มีการผลักดันเรื่องของการคัดแยกขยะก่อนทิ้งกับโครงการ ‘ทิ้งเป็นที่ เก็บเป็นเวลา’ ดูเหมือนว่ากระแสตอบรับจะเป็นไปในทิศทางที่น่าพอใจ และในปี 63 นี้ กทม. จะมีการจัดหาถังรองรับขยะมูลฝอยออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
- สีน้ำเงิน - สำหรับขยะมูลฝอยทั่วไป
- สีเขียว - สำหรับขยะมูลฝอยอินทรีย์
- สีเหลือง - สำหรับขยะมูลฝอยที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
- สีส้ม / แดง - สำหรับขยะมูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชน
ยังไงก็มาลุ้นกันต่อไปว่าโครงการนี้จะประสบความสำเร็จ และมีผู้ร่วมโครงการมากน้อยแค่ไหน ถ้าประสบความสำเร็จจริงจะดีมาก เพราะนอกจากบ้านเมืองจะเป็นระเบียบแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังนิสัยและค่านิยมดีๆ ให้กับคนในสังคมอีกด้วย
สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอื่นๆ ก็อย่าเพิ่งน้อยอกน้อยใจกันไป ปันโปรเราได้รวบรวมวิธีการจัดการกับขยะประเภทต่างๆ มาให้แล้ว ตามนี้เลยจ้าา
ขยะทั่วไป
อ้างอิงข้อมูลจากคู่มือโครงการ “ทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม” เรื่องมาตรการคัดแยกขยะมูลฝอยประเภทขยะทั่วไประบุว่า ขยะทั่วไปในที่นี้ ได้แก่ เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษกิ่งไม้ ใบไม้แห้ง ซากสัตว์ ซอง/ถุงขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติก กล่องโฟมเปื้อนอาหาร หลอดกาแฟ ซองกาแฟ เป็นต้น ซึ่งขยะประเภทนี้เรามักจะทิ้งกันตามปกติอยู่แล้ว แต่ก็จะมีบางบ้านที่ใช้วิธีการแยกขยะที่สามารถขายได้ หรือเก็บเอาไว้ใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น การนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก เป็นต้น
ขยะรีไซเคิล
แนะนำให้คัดแยกเฉพาะขยะที่มีมูลค่าและสามารถนำไปขายได้ในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งขยะที่เรามักจะนำไปขายกันได้แก่ แก้ว กระดาษ พลาสติก และโลหะ ส่วนสถานที่ขายนั้นก็ตามรถรับซื้อของเก่า หรือร้านขายของเก่า ล่าสุด NOSTRA Map แอปแผนที่นำทางได้จัดทำแผนที่รวบรวม 12 จุดรับรีไซเคิลขยะพลาสติกทั่วกรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียง เอาใจคนที่มีขยะประเภทพลาสติกเยอะ แต่ไม่รู้จะนำไปรีไซเคิลที่ไหนดี ซึ่ง 12 จุดที่ว่านั้นได้แก่…
- โครงการ "วน"
รับบริจาคถุงพลาสติกที่ใช้แล้วนำมารีไซเคิลเป็นถุงพลาสติกใหม่ - วัดทองนพคุณ เพชรบุรี
รับบริจาคขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว รีไซเคิลเป็นแพและสะพานกลางน้ำ - วัดจากแดง สมุทรปราการ
รับบริจาคขวดพลาสติกที่ใช้แล้วเพื่อนำมารีไซเคิลเป็นจีวรพระ - โครงการหลังคาเขียว
รับบริจาคกล่องเครื่องดื่มที่ใช้แล้ว รีไซเคิลเป็นแผ่นหลังคา - Precious Plastic BKK
รับบริจาคฝาขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว รีไซเคิลเป็นภาชนะพลาสติก - บมจ.ไทยคม
รับบริจาคหลอดพลาสติกเพื่อนำมาทำหมอนเพื่อผู้ป่วยติดเตียง - ปตท. สำนักงานใหญ่ มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน
รับบริจาคหลอดพลาสติกที่ใช้แล้วเพื่อนำมาทำหมอนเพื่อผู้ป่วยติดเตียง - โครงการกรีนโรด
รับบริจาคถุงพลาสติกที่ใช้แล้วรีไซเคิลเป็นอิฐบล็อกปูถนน - กรมควบคุมมลพิษ
รับบริจาคอลูมิเนียมฝากระป๋องเครื่องดื่มเพื่อนำมาทำเป็นอุปกรณ์ขาเทียม - Trash Hero Thailand
รับบริจาคขวดพลาสติกอัดขยะรีไซเคิลเป็นโครงสร้างผนังแทนอิฐ - บริษัทบางจาก
รับบริจาคกล่องเครื่องดื่มที่ใช้แล้วรีไซเคิลเป็นแผ่นหลังคา - โครงการผึ้งน้อยนักสู้
รับบริจาคขวดพลาสติกอัดขยะรีไซเคิลเป็นโครงสร้างผนังแทนอิฐ
เพื่อนๆ คนไหนที่สนใจสามารถคลิกดูรายละเอียดของจุดรับรีไซเคิลขยะพลาสติกได้ที่ > คลิก
ขยะอันตราย
ขยะประเภทนี้เป็นประเภทที่ไม่ควรนำมาทิ้งรวมกันกับขยะประเภทอื่นๆ เนื่องจากมีความเป็นอันตราย หรือมีส่วนประกอบที่เป็นสารที่มีความอันตราย ได้แก่ ถ่านไฟฉายที่ใช้แล้ว กระป๋องสเปรย์บรรจุสารเคมี ตลับหมึกที่ใช้แล้ว หลอดไฟ เป็นต้น ซึ่งการจัดเก็บขยะประเภทนี้หน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องควรกำหนดจุดรวบรวมไว้ที่ใดที่หนึ่ง โดยไม่ควรตั้งอยู่ข้างกับถังขยะทั่วไป (กันสับสน) แต่ก็ควรตั้งไว้ในที่สะดวก และมีการประชาสัมพันธ์ชัดเจน ยกตัวอย่าง จุดทิ้งขยะอันตรายของกทม. ตามที่ได้บอกไว้ด้านบน แต่สำหรับใครที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัดอาจจะต้องเดินทางไปยังสำนักงาน หรือหน่วยงานของรัฐ, สำนักงานเขตท้องถิ่นประจำจังหวัด หรือแม้แต่สถานที่ที่มีคนสัญจรไปมากันเยอะๆ แล้วสังเกตดูถังขยะสีส้มที่มีข้อความระบุว่า “ขยะอันตราย” พร้อมกับมีสัญลักษณ์หัวกระโหลกไขว้ทับกันอยู่ แบบนี้แปลว่าทิ้งได้ ปลอดภัยหายห่วงจ้า
สำหรับใครที่ไม่สะดวก ตอนนี้เค้าก็มีบริการออกมามากมาย รับขยะถึงหน้าบ้านเลยก็มี แต่ถ้าที่สะดวกสุดๆ ก็น่าจะเป็นตามปั๊มน้ำมัน, โรงพยาบาล (ในกรณีที่เป็นขยะติดเชื้อ), ศูนย์บริการโทรศัพท์มือถือ (ไว้ทิ้งโทรศัพท์ที่ไม่ใช้งานแล้ว) ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของขยะอีกทีนึงด้วยน้าาา
ทิ้งขยะอันตรายยังไงให้ถูกต้อง
- ปิดฝาภาชนะให้แน่น เพื่อไม่ให้ผลิตภัณฑ์ระเหย หรือรั่วไหล
- เก็บผลิตภัณฑ์ให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง
- ในกรณีที่เป็นถ่านไฟฉาย แนะนำให้ใส่ถุงดำแล้วติดสัญลักษณ์ให้ชัดเจนว่าขยะมีพิษ ซึ่งวิธีการนี้เราสามารถนำไปใช้กับขยะอื่นๆ ได้ เช่น หลอดไฟ, แบตเตอรี่มือถือ และกระป๋องสเปรย์ เป็นต้น
- แนะนำให้วางถุงไว้ในพื้นที่ที่เห็นได้ชัดเจน อย่าวางทิ้งไว้ตามซอกตามมุมที่สังเกตเห็นยาก ไม่เช่นนั้นคนที่ลืมอาจจะเป็นเราเองนี่แหละ แหะๆ
จากสถานการณ์ขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายอ้างอิงข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษในช่วงปีที่ผ่านมาระบุว่า มีปริมาณของขยะเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 1.64 สวนกันกับการจัดการขยะมูลฝอยที่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ควรจะร่วมด้วยช่วยกันแยกขยะให้ถูกประเภทก่อนนำไปทิ้ง รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเองก็ควรจะให้การประชาสัมพันธ์ สนับสนุน และสร้างการเข้าถึงให้ได้มากกว่านี้ ยิ่งช่วงเทศกาลปีใหม่อย่างนี้แล้ว คนมักจะนิยมจัดบ้าน เคลียร์ข้าวของที่ไม่ใช้กัน ยังไงถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ ทุกคนคงพอจะรู้วิธีการจัดเก็บ รวมถึงให้ความสำคัญกับการแยกขยะกันมากขึ้นแล้วนะ
และสำหรับเพื่อนๆ คนไหนมีขยะชิ้นใหญ่ที่อยากจะทิ้ง ก็สามารถคลิกเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในบทความนี้กันได้ มีของดีทั้งทีทางเราก็อยากจะแนะนำ > อยู่บ้านก็ทิ้งขยะชิ้นใหญ่ได้
😍 ปันโปรสรุปให้ 😋
- ไหนๆ ปีใหม่ก็จัดบ้านใหม่ทั้งที ขยะที่ไม่รู้จะเอาไปเก็บไว้ที่ไหนก็ได้เวลาทิ้งซิจ๊ะ!
- โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะอันตรายทั้งหลาย เราจะทิ้งกันแบบสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้เชียวนะ
- ยังไงหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่สายจัดบ้านทุกท่าน เคลียร์ขยะเสร็จบ้านก็จะสะอาดรับสิ่งดีๆ ที่จะมาถึงในปีหน้านี้ไง~
- ขอบคุณข้อมูลจาก Dailynews, โครงการทำดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม,
NOSTRAMap, Media Center และกรมควบคุมมลพิษ -
โดย imnat
เสพติดการอ่าน & ดูหนัง ตอนนี้อยู่ในระหว่างการทำตามความฝันให้สำเร็จ :)