สั่งของออนไลน์จากต่างประเทศต้องเสียภาษีเท่าไหร่? ต้องช้อปยังไงถึงจะไม่โดนภาษี!

avatar writer
โดย : waranggg
avatar writer30 ก.ย. 2563 avatar writer19.0 K
สั่งของออนไลน์จากต่างประเทศต้องเสียภาษีเท่าไหร่? ต้องช้อปยังไงถึงจะไม่โดนภาษี!

สั่งของออนไลน์จากต่างประเทศยังไง ไม่ให้โดนภาษี
เรามีทริคมาบอก! 


ขาช้อปออนไลน์ทั้งหลาย~ โดยเฉพาะสายพรีจากเว็บต่างประเทศ นอกจากเตรียมเงินเพื่อจ่ายค่าสินค้าและค่าส่งแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องเตรียมใจและเตรียมเงินไว้เผื่อนั่นก็คือ "ภาษีนำเข้า" นั่นเอง แต่ๆๆ ในการสั่งของออนไลน์จากต่างประเทศ ก็พอจะมีวิธีในการช้อปไม่ให้โดนภาษีอยู่นะ ต้องช้อปยังไงให้เรามีทริคมาฝาก! 

ปล. วิธีทั้งหมดที่แนะนำเป็นวิธีถูกต้องตามกฎหมายนะคะ ไม่ใช่การเลี่ยงภาษีแบบผิดกฏหมายแต่อย่างใดจ้า


อัตราภาษีนำเข้า ซื้ออะไรต้องเสียภาษีเท่าไหร่บ้าง ? 


ก่อนจะไปดูทริคช้อปไม่ให้โดนภาษี เราลองมาดูกันก่อนว่าสินค้าประเภทใด ต้องเสียภาษีที่เท่าไหร่บ้าง ซึ่งสินค้าแต่ละประเภทจะมีอัตราการเสียภาษีที่ไม่เท่ากัน ตามนี้เลย~

อัตราภาษีนำเข้า

นอกจากภาษีนำเข้าตามตารางด้านบนแล้ว เรายังต้องเสียค่า Vat 7% เพิ่มด้วย รวมไปถึงสินค้าที่ได้รับการยกเว้นก็ต้องเสีย Vat 7% เช่นเดียวกัน


สั่งของออนไลน์ยังไง ไม่ให้โดนภาษี


ภาษีนำเข้า

สั่งสินค้ามูลค่ารวมไม่ควรเกิน 1,500 บาท 

ในกรณีที่เราต้องการกดสั่งสินค้าจากเว็บต่างประเทศด้วยตัวเองและสินค้ามีราคาไม่ได้สูงมากนัก อย่างสกินแคร์หรือเครื่องสำอาง มูลค่าต่อกล่องรวมค่าส่งและค่าประกันสินค้าไม่เกิน 1,500 บาท เพราะกรมศุลกากรได้กำหนดราคาสินค้าทุกชนิดไว้ว่า หากมูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายภาษีอากรนำเข้านั่นเอง

ระบุหน้ากล่องว่า "No Comercial Value"

หากเราบริสุทธิ์ใจซื้อมาเพื่อใช้เอง เป็นของส่วนตัวจริงๆ ก็สามารถเขียนระบุที่หน้ากล่องไว้ว่า "No Comercial Value" หรือ "ไม่ใช่สินค้าเพื่อการค้า" ก็เป็นอีกตัวช่วยได้เช่นกัน หากเป็นสินค้าที่มูลค่า 

แยกหมวดหมู่สินค้า

หากสั่งสินค้าหลายอย่าง เราแนะนำให้แยกหมวดหมู่อย่างชัดเจนไปเลย เพราะสินค้าบางประเภทก็ได้รับการยกเว้นการเสียภาษีนำเข้า เช่น หนังสือ นิตยสารหรือหนังสือเรียนจากต่างประเทศ หากสั่งมาในออเดอร์เดียวกันกับสินค้าอื่นๆ มูลค่าสินค้าที่หน้ากล่องก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น และอาจจะเสียภาษีนำเข้าแบบเหมารวมได้ ทำให้เสี่ยงโดนตรวจภาษีมากกว่าเดิม


ของที่สั่งมาโดนภาษีไหม จะรู้ได้ยังไง?

ในกรณีที่เว็บไซต์ที่เราสั่งของแล้วส่งผ่าน EMS สามารถนำเลข Tracking No. ไปเช็คได้ที่ : https://ppro.pro/3mNdf6O

ภาษีนำเข้า

หากต้องเสียภาษีนำเข้าระบบจะขึ้นจำนวนเงินที่ต้องชำระ จากนั้นทางไปรษณีย์ไทยจะออกใบแจ้งรับของพร้อมชำระภาษีหรือ "ใบเขียว" มายังที่อยู่ที่ผู้ส่งที่ระบุไว้ ถ้าหากไม่มีภาษีที่ต้องชำระ เมื่อนำเลข Tracking No. ไปเสิร์ชจะขึ้นว่าไม่พบข้อมูล

ภาษีนำเข้า

เมื่อของโดนภาษีสามารถไปชำระที่ไหนได้บ้าง?

เมื่อได้รับใบเขียวสามารถนำไปชำระภาษีได้ที่ไปรษณีย์สาขาที่ออกใบแจ้ง ภายใน 7 วัน โดยต้องนำใบแจ้งรับสินค้าและบัตรประชาชนไปด้วย เมื่อชำระภาษีเรียบร้อยแล้วสามารถรับพัสดุกลับได้เลย 

DHL

หากเลือกส่งพัสดุด้วย DHL หากพัสดุของเราโดนเรียกเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติม ทาง DHL จะสำรองจ่ายค่าภาษีให้ก่อน และจะมีเจ้าหน้าที่โทรมาแจ้งหรือมี Message เตือนให้เราชำระค่าภาษีคืนกับ DHL เมื่อเราชำระค่าภาษีเรียบร้อยแล้ว DHL จึงนำพัสดุมาส่งให้ที่บ้าน

FedEx 
หากพัสดุที่นำส่งโดย FedEx และโดนเรียกเก็บภาษีนำเข้า สามารถชำระเงินปลายทางเป็นเงินสดหรือบัตรเครดิตกับเจ้าหน้าที่ขนส่งสินค้าได้เลย 


การยื่นอุทธรณ์ภาษี


ใบโต้แย้งการประเมินราคา

การยื่นอุทธรณ์ภาษีนำเข้า คือ การขอยื่นเรื่องประเมินภาษีใหม่ ในกรณีที่เราเห็นว่าภาษีที่กรมศุลกากรประเมินมาสูงกว่าปกติหรือสูงเกินมูลค่าสินค้าที่ซื้อ โดยสามารถยื่นคำร้องที่ไปรษณีย์สาขาที่ออกใบแจ้งได้เลย และต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้ 
1.ใบคำร้องโต้แย้งการประเมินราคา 

2.สำเนาบัตรบัตรประชาชน

3.ใบแจ้งรับสิ่งของจากไปรษณีย์หรือใบเขียว

4. หลักฐานเพิ่มเติม เช่น ใบเสร็จชำระเงิน, รายละเอียดการสั่งซื้อ เป็นต้น

ในการยื่นอุทธรณ์ภาษีอาจจะต้องใช้เวลาในการประเมินราคาใหม่นานพอสมควรเลย และเจ้าหน้าที่จำเป็นจะต้องเปิดกล่องสินค้าของเราเพื่อตรวจสอบ ซึ่งในเอกสารยื่นคำร้องจะมีช่องให้เราลงชื่อเซ็นยินยอมด้วย 


🌈 ปันโปรสรุปให้ 🌈

• ทริคแนะนำคือควรสั่งของมูลค่าทั้งหมด ไม่เกิน 1,500 บาทต่อกล่อง เพราะยังอยู่ในระดับการยกเว้นภาษีนำเข้านั่นเอง

• ถ้าหากโดนประเมินภาษีนำเข้าแล้วพบว่ามีราคาสูงกว่าปกติ สามารถยื่นอุทธรณ์เพื่อประเมินภาษีใหม่ได้ แต่อาจต้องใช้เวลาเวลาประเมินราคาใหม่นานพอสมควร

• เมื่อเช็ก Tracking No. แล้วพบว่าสินค้าถึงไทยแล้ว หากไม่แน่ใจว่าจะโดนเรียกเก็บภาษีหรือไม่  สามารถเช็กได้ที่นี่ : https://ppro.pro/2SeNGxf

Source : 1 2 3 4

 

แสดงความคิดเห็น