รัฐคุมเข้มราคายา รักษาโรงพยาบาลเอกชน ไม่ต้องจ่ายเกินจริง

avatar writer
โดย : waranggg
avatar writer30 พ.ค. 2562 avatar writer236
รัฐคุมเข้มราคายา รักษาโรงพยาบาลเอกชน ไม่ต้องจ่ายเกินจริง

สบายใจได้เล้ยยย
รัฐจะเข้าควบคุมราคายา ของรพ.เอกชนแล้ว
เราจะได้ไม่ต้องจ่ายค่ายาที่แพงเกินจริงอีกต่อไปแล้นนน


ในที่สุดกระทรวงพาณิชย์ และกรมการค้าภายในก็ได้เคาะมาตรการควบคุมราคายา สำหรับโรงพยาบาลเอกชนเรียบร้อยแล้ว เย้ๆๆๆ  และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ค. 62 เป็นต้นไป หลังจากมีข่าวเกี่ยวกับมติเรื่องนี้ ลากยาวมาตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา จะบอกเลยว่ามาตรการนี้มีประโยชน์กับประชาชนอย่างเราๆ มาก เพราะต่อไปนี้เราสามารถไปหาหมอโรงพยาบาลเอกชนโดยไม่ต้องจ่ายค่ายา หรือค่ารักษาพยาบาลที่แพงเกินจริงอีกต่อไปแล้วจย้าาาา

มาตรการนี้มีขึ้นเพื่อป้องกันโรงพยาบาลเรียกเก็บค่ายา หรือค่ารักษาเกินจริงนั้นเอง นอกจากนี้ยังตรวจสอบพบว่า ราคาซื้อ-ราคาขายยา มีส่วนต่างกำไรที่ค่อนข้างสูงมากเลย เช่น ยา XANDASE หรือยารักษาโรคเก๊าท์ ราคาต้นทุน 3 บาท ขายเฉลี่ย 6-20 บาท, ยา ORFARIN หรือยากันเลือดแข็ง ราคาต้นทุน 2 บาท แต่ขายจริง 13.75 - 36 บาท เป็นต้น

สำหรับมาตรการ มีหลักการอยู่ 3 ข้อที่สำคัญคือ ราคาที่โปร่งใส ผู้บริโภคต้องมีทางเลือก และการรักษาที่สมเหตุสมผล 

ราคาโปร่งใส

ควบคุมราคายา

รพ.เอกชน ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จัดจำหน่าย จะต้องแจ้งราคาซื้อ-ราคาขายยา เวชภัณฑ์ ตามรายการที่อยู่ในบัญชีสิทธิ์การรักษาแบบ UCEP หรือ สิทธิ์เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาได้ทุกที่ และถ้าหากโรงพยาบาลต้องการปรับเปลี่ยนราคายา ต้องแจ้งกรมการค้าภายใน ก่อนการเปลี่ยนราคาภายใน 15 วัน ถ้าหากไม่แจ้งราคาซื้อ-ราคาขายยาตามที่กำหนด จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ ไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับกันไปเล้ย และจะปรับเพิ่มอีกไม่เกินวันละ 2,000 บาท จนกว่าจะแจ้งราคาให้กรมการค้าภายในทราบ

ผู้บริโภคต้องมีทางเลือก 

ควบคุมราคายา

โรงพยาบาลจัดทำ QR Code จัดแสดงข้อมูลเปรียบเทียบราคายา ที่กรมการค้าภายในเป็นผู้จัดทำให้ ไว้ในจุดที่เปิดเผยชัดเจน ประชาชนสามารถมองเห็น และเข้าถึงได้ง่าย นอกจากนี้จะต้องประเมินราคาค่ารักษาเบื้องต้น ที่ประกอบไปด้วย ราคายา เวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ให้ผู้ป่วยทราบ ก่อนที่การจำหน่าย หรือให้บริการด้วย

สำหรับการจ่ายยาผู้ป่วยนอกจะต้องออกใบสั่งยาตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม และใบแจ้งราคายาให้ผู้ป่วยทราบล่วงหน้า และในใบสั่งยาจะต้องประกอบไปด้วย  ชื่อยา ชื่อทางการค้า รูปแบบยา ขนาดหรือปริมาณ จำนวน วิธีใช้ ระยะเวลาในการใช้ยา  และใบแจ้งราคายา จะต้องประกอบไปด้วย ชื่อยา และราคายาต่อหน่วย 

การรักษาที่สมเหตุสมผล 

ควบคุมราคายา

หากมีการร้องเรียนเรื่องการเก็บค่ารักษาพยาบาลที่สูงเกินจริง และตรวจสอบพบว่าโรงพยาบาลมีความผิดจริง จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 


🌈 ปันโปรสรุปให้ 🌈

  • มาตรการนี้ไม่ได้บังคับใช้เฉพาะโรงพยาบาลเอกชนเท่านั้น โรงพยาบาลของรัฐก็อยู่ในการควบคุมเช่นกัน แต่ต้องขอให้โรงพยาบาลเอกชนส่งข้อมูลให้ เพราะกรมการค้าภายในไม่มีข้อมูลตรงส่วนนี้ สำหรับโรงพยาบาลของรัฐสามารถขอข้อมูลได้จากกรมบัญชีกลางได้นั่นเอง
  • ค่ายาของโรงพยาบาลเอกชน มีการตรวจสอบ และพบว่า มีกำไรสูงสุดถึง 16,566.67% 😲 
  • โรงพยาบาลเอกชนทุกแห่ง มีกำหนดจะต้องส่งข้อมูลภายใน 45 วัน นับจากวันที่ประกาศใช้เป็นวันแรก (30 พ.ค. 62) ไม่เช่นนั้นจะมีโทษตามกฏหมาย 

ถึงจะมีการควบคุมราคายาแล้ว ก็อย่าลืมรักษาสุขภาพกันด้วยน้าาา~

--ขอขอบคุณข้อมูลจาก Thai PBS และ MRG Online--

แสดงความคิดเห็น