ประกันสังคมประกาศชดเชยเงินค่าจ้าง 50% นาน 6 เดือน พร้อมวิธีลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงาน

avatar writer
โดย : waranggg
avatar writer22 มี.ค. 2563 avatar writer52.3 K
ประกันสังคมประกาศชดเชยเงินค่าจ้าง 50% นาน 6 เดือน พร้อมวิธีลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงาน

เคาะแล้ว! ประกันสังคมจ่ายเงินชดเชยรายได้ให้คนว่างงานจากโควิด-19
50% ของรายเดือน เป็นเวลา 6 เดือน!!


สถานการณ์เริ่มเลวร้ายลงไปทุกทีสำหรับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพคนผู้คนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจต่างๆ อย่างเป็นวงกว้าง ธุรกิจ กิจการ และห้างร้านหลายเจ้าจึงตัดสินใจลดเงินเดือนพนักงานหรือ Lay Off พนักงานเพื่อเป็นการลดต้นทุน และพยุงให้กิจการยังคงอยู่ได้ต่อไป แล้วยิ่งเคราะห์ซ้ำกรรมซัดเข้าไปใหญ่ เมื่อกทม. ประกาศขอความร่วมมือให้ห้างสรรพสินค้าและธุรกิจที่ต้องมีการรวมตัวของผู้คนปิดให้บริการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงการระบาดของโรค ก็ยิ่งส่งผลให้ตอนนี้มีคนตกงานเป็นจำนวนมากขึ้นไปด้วย ทำเอาเหล่าพนักงานเงินเดือนร้อนใจว่าภาครัฐจะมีมีมาตรการเยียวยาอย่างไร ซึ่งล่าสุดประกันสังคมก็เคาะเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าผู้ว่างงานจากโควิด-19จะได้รับเงินชดเชยรายได้แน่นอน!


ประกันสังคมเยียวยาคนตกงานจากโควิด-19
ชดเชยรายได้ 50% นาน 6 เดือน 


sso lay off

ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 มี.ค.63 ประกันสังคมได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ต่อไปนี้

1. ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย โดยขยายความคุ้มครองผู้ประกันตนจากภัยที่เกิดจากโรคที่แพร่หรือระบาดในมนุษย์ รวมทั้งภัยอื่นๆ ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติหรือมีผู้ทำให้เกิดขึ้น โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 63 เป็นต้นไป ดังนี้ 

• ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน จ่ายเงินชดเชยรายได้ 50% ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน 

กรณีหน่วยงานภาครัฐมีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ประกันสังคมจ่ายเงินชดเชยรายได้ 50% ระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน

• กรณีว่างงานจากการลาออก จ่ายเงินชดเชยรายได้ 45% ระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน 

• กรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง จ่ายเงินชดเชยรายได้ 70% ระยะไม่เกิน 2 เดือน

2. ปรับลดอัตราการส่งเงินสมทบเหลือเพียง 4% เป็นระยะเวลา 6 เดือน 

3. การรักษาพยาบาลให้กับผู้ประกันตนที่ป่วยจากโควิด-19 ให้รักษาอย่างดีที่สุดตามมาตรฐานที่กำหนด


ขั้นตอนการลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงาน 
กรณีลาออกหรือถูกเลิกจ้าง


sso lay off

1. สามารถเข้าไปลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงานได้ที่ : https://empui.doe.go.th  หากยังไม่เคยใช้งานผ่านเว็บไซต์นี้ ให้สมัครสมาชิก่อน หากเคยใช้มาสามารถใส่รหัสประจำตัวประชาชนและรหัสผ่านเข้าใช้งานได้เลย

 

2. เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว จะพบกับข้อมูลส่วนตัวของเราที่เรากรอกไว้ตอนสมัครสมาชิก จากนั้นให้กดที่ "ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน"

sso lay off

 

3.  จากนั้นให้กรอกข้อมูลส่วนตัวให้เรียบร้อย จากนั้นคลิกที่ "ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนกรณีว่างงาน" 

 

4. จากนั้นนำเอกสารไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาที่เราสะดวกได้เลย (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

sso lay off

เอกสารที่ต้องใช้มีต่อไปนี้ 

• แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01/7)

หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส.6-09) (ถ้ามี)

หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน

กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยแนบหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

หากมีการเปลี่ยนชื่อสกุล นำสำเนาใบเปลี่ยนชื่อสกุลมาด้วย

สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี

รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนครับ

5. จากนั้นเราต้องเข้าไปรายงานในในเว็บ https://empui.doe.go.th ตามวันที่กำหนด หลังจากวันที่รายงานตัวถึงจะมีเงินชดเชยรายได้โอนเข้ามาที่บัญชีของเรา


*การลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงานต้องลงทะเบียนภายใน 30 วันหลังจากว่างงาน
และต้องเป็นผู้ที่ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนลาออกหรือถูกเลิกจ้าง*

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานประกันสังคม

แสดงความคิดเห็น
ศิริวรรณ เงินพุ่ม
ศิริวรรณ เงินพุ่ม
ไม่เห็นมีกรอกข้อความเลย
ตอบกลับ | 4 ปีที่แล้ว 0
ศิริวรรณ เงินพุ่ม
ศิริวรรณ เงินพุ่ม
ต้องการสมัครแต่ไม่เข้าใจ
ตอบกลับ | 4 ปีที่แล้ว 0
ไก่ สุนิสา น้องแพรว
ไก่ สุนิสา น้องแพรว
เป็นเจ้าของกิจการ...และเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39...วันนี้ไปยื่นเอกสารพร้อมกนังสือจากกรมปกครองสั่งปิดกิจการ เจ้าหน้าที่บอกไม่มีสิทธิ์รับเงินค่ะร
ตอบกลับ | 4 ปีที่แล้ว 0
ไก่ สุนิสา น้องแพรว
ไก่ สุนิสา น้องแพรว
ข้อ 1.2 ได้ยังงัยค่ะ .ไม่เห็นมีรายละเอียด
ตอบกลับ | 4 ปีที่แล้ว 0
วัน ชนะกุล
วัน ชนะกุล
ดีมากกครับ
ตอบกลับ | 4 ปีที่แล้ว 0