นับถอยหลัง! รอชม ดาวอังคาร ใกล้โลกที่สุด 1 ธ.ค. 65 นี้

avatar writer
โดย : wacheese
avatar writer28 พ.ย. 2565 avatar writer576
นับถอยหลัง! รอชม ดาวอังคาร ใกล้โลกที่สุด 1 ธ.ค. 65 นี้

 

🌔

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เตรียมจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ "ดาวอังคารใกล้โลก" มาส่องพื้นผิวและขั้วน้ำแข็งของดาวเคราะห์พร้อมกัน ในวันที่ 1 ธ.ค. 65 นี้

 


 

ดาราศาสตร์

 

| นับถอยหลัง! รอชม ดาวอังคาร ใกล้โลกมากที่สุด |


วันที่ 1 ธ.ค. 65 นี้ ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุด ห่างจากโลกประมาณ 81.5 ล้าน กม. จากนั้นจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ในวันที่ 8 ธ.ค. 65 ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดาวอังคารจะเรียงตัวอยู่ในเส้นเดียวกัน

 

สำหรับปรากฏการณ์ครั้งนี้ หลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวอังคารจะปรากฏสว่างมากทางทิศตะวันออก มีสีส้มแดง และสว่างเด่นชัดอยู่บนท้องฟ้าตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากชมผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาด 10 นิ้ว กำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป จะสามารถมองเห็นรายละเอียดของพื้นผิว รวมทั้งขั้วน้ำแข็งบนดาวอังคารได้อย่างชัดเจน

 

" เดือน ธ.ค. เป็นช่วงที่เหมาะแก่การสังเกตการณ์ดาวอังคารเป็นอย่างมาก "

 


 

ภาพจำลองวงโคจร

 

| ภาพจำลองวงโคจร ดาวอังคาร ใกล้โลก

 

ภาพจำลองวงโคจรของดาวอังคารและโลก ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากวงโคจรของดาวอังคารค่อนข้างรี และอยู่ใกล้โลกมาก เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์วงนอกดวงอื่น ๆ เป็นผลให้วันที่ดาวอังคารอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ จะไม่ใช่วันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุด ต่างจากดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี

 

" ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกในทุก ๆ 2 ปี 2 เดือน
และจะเข้าใกล้โลกมากที่สุดทุก ๆ 15-17 ปี "

 


 

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

 

| เช็ก! 4 จุดสังเกตการณ์ ดาวอังคาร ใกล้โลก

 

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) จะจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ "ดาวอังคารใกล้โลก" ชวนส่องพื้นผิวและขั้วน้ำแข็งของดาวเคราะห์แดง ที่จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง ในวันที่ 1 ธ.ค. 65 เวลา 18.00-22.00 น. ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ดาวอังคารใกล้โลกผ่านได้ทาง NARIT Facebook Live คลิก

 

  • อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 081-8854353
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โทร. 086-4291489
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา ตำบลวังเย็น อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 084-0882264
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โทร. 095-1450411


นอกจากนี้ โรงเรียนในเครือข่ายกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ 560 แห่งทั่วประเทศ ได้ตั้งกล้องโทรทรรศน์ และจัดกิจกรรมสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนี้ด้วย สามารถตรวจสอบจุดสังเกตการณ์ใกล้บ้าน 👉🏼 ที่นี่

 


 

ดาวอังคาร

 

| ปักหมุด! กิจกรรม ดาราศาสตร์ ส่งท้ายปี 2565 |

 

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ยังจัดอีเวนต์ "เทศกาล ชมดาว...รับลมหนาว 2565-2566" ที่ชวนประชาชนมาชมปรากฏการณ์สำคัญ และร่วมกิจกรรมดาราศาสตร์ อัดแน่นทุกสัปดาห์ตลอดเดือน ธ.ค. 65 นี้

 

| ฝนดาวตกเจมินิดส์

 

กิจกรรมฝนดาวตกเจมินิดส์ มีอัตราการตกประมาณ 150 ดวง/ชั่วโมง จัดขึ้นในวันที่ 14 ธ.ค. 65 นี้ เวลา 18.00-23.00 น.

  • อ่างเก็บน้ำห้วยลาน อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดนครราชสีมา และฉะเชิงเทรา (เริ่มชมปรากฏการณ์ได้เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป)

 

| Night at the Museum

 

นิทรรศการท้องฟ้าจำลองรอบพิเศษยามค่ำคืน และกิจกรรมดูดาว สัมผัสประสบการณ์เรียนรู้ดาราศาสตร์ในช่วงกลางคืน ร่วมแต่งตัวธีมสนุก ๆ พร้อมเก็บความประทับใจผ่านภาพถ่ายสุดลิมิเต็ด และกิจกรรมพิเศษในธีม The Secrets of NARIT

  • 23 ธ.ค. 65 เวลา 18.00-22.00 น. แต่งกายร่วมงานธีม Sleeping Beauty (ชุดนอน)
  • 24 ธ.ค. 65 เวลา 18.00-22.00 น. แต่งกายร่วมงานธีม Merry Christmas (ชุดฉลองคริสต์มาส)
  • 25 ธ.ค. 65 เวลา 18.00-20.00 น. (ไม่มีกิจกรรมดูดาว)

 

| NARIT Public Night Countdown 2023

 

ชมพาเหรดดาวเคราะห์ทั้งระบบสุริยะ ทั้งดาวอังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ ยูเรนัส และร่วมนับถอยหลังเริ่มศักราชใหม่ ดูดาวข้ามปีไปด้วยกันกับ NARIT ในวันที่ 31 ธ.ค. 65 เวลา 18.00-24.00 น.

  • อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 081-8854353
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โทร. 086-4291489
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา ตำบลวังเย็น อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 084-0882264
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โทร. 095-1450411

 

🔗 ข้อมูลอ้างอิง สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

แสดงความคิดเห็น