นอนเยอะไป ใช่ว่าจะดี! เสี่ยงเป็นโรคร้ายแบบคาดไม่ถึง

avatar writer
โดย : prc.
avatar writer19 ส.ค. 2562 avatar writer3.7 K
นอนเยอะไป ใช่ว่าจะดี! เสี่ยงเป็นโรคร้ายแบบคาดไม่ถึง

กลางวันไม่ตื่น กลางคืนไม่นอน
แต่พอได้นอน ก็นอนยาวววเวอร์!
หารู้ไม่ว่า "นอนเยอะ" แบบนี้ อันตรายกว่าที่คิดอีกนะ


ใครล่ะจะไม่รักการนอน พูดเลยว่าแทบไม่มี 555+ เพราะแค่พูดถึงคำว่านอน ภาพในหัวของเราก็จะจินตนาการถึงเตียงนอนนุ่มๆ มีหมอนเยอะๆ ตบด้วยผ้าห่มอุ่นๆ และยิ่งเป็นเสาร์-อาทิตย์ที่ได้ตื่นสาย ไม่มีภาระอะไรต้องทำล่ะก็ เข้าทางนักจำศีลแบบเรายิ่งนัก! (ว่าแล้วก็อยากกลับบ้านไปนอนเลยอะ) แต่ถึงแม้ว่าการได้นอนพักผ่อนอย่างเต็มที่ จะช่วยทำให้ร่างกายได้ฟื้นฟู ลดความเครียด ความดันโลหิตต่างๆ แล้ว ในทางกลับกัน หากเรานอนมากเกินไป ก็กลายโรคนอนเกิน (Hypersomnia) ไปซะอย่างนั้น

โรคนอนเกิน คืออะไร?

เป็นโรคที่เกิดจากการที่เรานอนเกินกว่า 9 ชั่วโมงขึ้นไป จนทำให้ร่างกายรู้สึกว่านอนเท่าไหร่ก็นอนไม่พอ อยากนอนอยู่อย่างนั้นซ้ำๆ โดยไม่อยากทำอะไรอย่างอื่น หรือถ้าลุกจากเตียงได้แล้ว ก็อาจจะอยากงีบระหว่างวัน บางทีก็วูบหลับระหว่างพูด หรือทานอาหาร ซึ่งในบางกรณี ก็อาจจะมีอาการรุนแรงจนเสียบุคลิกภาพเลยก็ว่าได้ ซึ่งสาเหตุของการนอนเยอะแล้วยังมีอาการง่วงอยู่นั้น ก็มาจากพฤติกรรมหลายอย่างของเรา เช่น เหนื่อยสะสมจากการทำงาน มีการใช้สมองมากเกินไป หรือเผลอทานของหวานมากเกินไปนั่นเอง

Hypersomnia


5 อาการที่บอกว่า เรานอนเยอะไป

  • รู้สึกง่วงตลอดเวลาแบบมากกว่าปกติ
  • ซึมเศร้า
  • หงุดหงิดง่าย มีความวิตกกังวลกับสิ่งรอบตัว
  • เฉื่อยชา รู้สึกสมองไม่แล่น
  • น้ำหนักขึ้นมากกว่าเดิม

ซึ่งทั้งหมดที่เรากล่าวมาเป็นเพียงอาการคร่าวๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น และถ้าหลายคนเริ่มมีอาการเหล่านี้แล้ว ก็อาจจะนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เกิดภาวะมีบุตรยาก และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตเร็วขึ้นอีกด้วย

Hypersomnia


วิธีแก้ไข ทำได้ไม่ยาก

การปรับเรื่องนอนเป็นอะไรที่ทำได้ยากซะเหลือเกิน แต่ถ้าเราไม่เริ่มปรับตั้งแต่ตอนนี้ก็อาจจะสายเกินแก้ เพราะฉะนั้น เราลองมาค่อยๆ ปรับการใช้ชีวิตทีละนิดกันค่ะ เริ่มจาก...

  1. ปรับเวลาการนอนให้เป็นเวลาเดียวกัน เช่น ถ้าเรากะไว้ว่าจะนอนเวลา 22:30 น. และตื่นตอน 6:00 น. เราก็ควรจะปรับให้เป็นเวลานี้ในทุกๆ วัน ติดต่อกัน 28 วัน เพื่อให้ร่างกายคุ้นชิน
  2. จัดห้องนอนให้มีอากาศถ่ายเท
  3. เพิ่มออกซิเจนให้ร่างกายด้วยการออกกำลังกาย หรือนั่งสมาธิ
  4. งดกินอาหารหนักๆ ในเวลาใกล้เข้านอน

Hypersomnia


🌈 ปันโปรสรุปให้ 🌈

  • ทุกอย่างเปลี่ยนได้ เริ่มต้นจากการปรับพฤติกรรมของเราเอง
  • ใครที่มีอาการรุนแรง ชนิดที่ว่าไม่สามารถควบคุมความง่วงหรือเรียกสติตัวเองได้แล้ว แนะนำให้ไปพบแพทย์จะดีที่สุดนะ

Hypersomnia-- ขอบคุณข้อมูลจาก samitivejhospitals และ honestdocs --

  • avatar writer
    โดย prc.
    just 'ORDINARY WRITER' who love to eat :)
แสดงความคิดเห็น
Aimeca Salsa
Aimeca Salsa
thank you this article is good and easy to understand. provide information that I did not know before. By the way, I also have other information, maybe it can add insight. You can visit this article: http://news.unair.ac.id/2019/07/17/deteksi-kantuk-melalui-extreme-learning-machine/
ตอบกลับ | 2 ปีที่แล้ว 0