5 โรคสัตว์เลี้ยงช่วงหน้าฝน มีอะไรบ้าง ชาวทาสต้องรู้!

avatar writer
โดย : Belt
avatar writer26 มิ.ย. 2563 avatar writer8.6 K
5 โรคสัตว์เลี้ยงช่วงหน้าฝน มีอะไรบ้าง ชาวทาสต้องรู้!

 

5 โรคสัตว์เลี้ยงที่ต้องรู้ไว้
ป้องกันถูก รักษาทัน
หน้าฝนนี้อย่าลืมดูแลน้องกันด้วยน้า

 

หน้าฝนทีไรโรคภัยไข้เจ็บมาเยือนเพียบ! จะออกไปไหนก็เจอแต่คนป่วย ซึ่งนอกจากจะต้องระวัง และรักษาสุขภาพของเรากันแล้ว ก็ยังต้องคอยระวังสุขภาพของน้องหมาน้องแมวที่อาจจะป่วยกันด้วยน้า

ยิ่งบางคนทิ้งน้องอยู่บ้านไว้หลายวันโดยไม่มีการเตรียมตัว พอกลับมาเจออีกทีก็พบว่าน้องไม่สบายเป็นที่เรียบร้อย วันนี้แอดเลยจะพาชาวทาสทั้งหลายมารู้จักกับ 5 โรคสัตว์เลี้ยงที่มาช่วงฤดูฝน จะมีอะไรบ้าง ต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไร เข้ามาดูในนี้กันได้เลยยย

 

 

 

โรคพยาธิเม็ดเลือด

หรือที่รู้จักในอีกชื่อว่า "โรคไข้เห็บ" ซึ่งเรามักจะพบโรคนี้ได้จากน้องหมาทุกเพศ ทุกวัย และทุกสายพันธุ์ เกิดจากเชื้อโปรโตซัว และริคเก็ตเซียหลายชนิด โดยมีพาหะหลักเป็น เห็บแข็งสุนัขสีน้ำตาล เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้มากในประเทศไทยที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น และยังเป็นโรคที่สังเกตอาการได้ยาก มีอาการร้ายแรงจนอาจทำให้สัตว์เลี้ยงของเราเสียชีวิตได้เลยน้าา 

 

อาการ

  • ระยะแบบเฉียบพลัน น้องจะมีไข้สูง ซึม และเบื่ออาหาร และสำหรับบางตัวอาจมีภาวะตับหรือไตอักเสบ จนมีอาการชัก เกร็ง และเสียชีวิตได้ใน 1-3 วัน
  • ระยะแบบเรื้อรัง  สุนัขจะมีไข้สูง และอาการซึมเหมือนกับแบบแรก แต่จะมีเลือดกำเดาออก และปัสสวะเป็นเลือด หายใจลำบาก ไขกระดูกทำงานบกพร่อง เกิดภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองส่งผลให้เป็นภาวะโลหิตจาง และอาจเสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา

แนวทางการป้องกัน

  • หมั่นกำจัด เห็บ-หมัด ทั้งบนตัวของสุนัข และสถานที่บริเวณที่น้องอาศัยอยู่ควบคู่กันไป ให้สะอาดอยู่เป็นประจำ
  • พาไปหาหมออย่างสม่ำเสมอ เมื่อน้องมีอาการแม้เพียงเล็กน้อย เพราะว่าอย่างที่แอดได้กล่าวไปข้างต้นว่าโรคนี้สังเกตอาการได้ยากมากก มาตรวจพบอีกทีก็สายเสียแล้ว ดังนั้นถ้าพบว่าน้องมีอาการ ควรรีบพาไปให้คุณหมอวินิฉัยทันทีจ้าา
  • น้องหมาที่ป่วยเป็นโรคพยาธิเม็ดเลือด จะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานผิดปกติ ดังนั้นเราจึงควรจัดอาหารที่มีวิตามินรวมต่างๆ หรือมีส่วนผสมของ แอล-คาร์นิทีน ที่จะช่วยรักษาสภาพการทำงานของเม็ดเลือดแดงให้กลับมามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

 

โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมว 

 ถึงคราวน้องแมวกันบ้างกับ "โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมว"  ที่ถึงแม้ว่าจะเป็นพยาธิชนิดเดียวกันกับ "โรคพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข" แต่ก็มีข้อแตกต่างในการติดเชื้ออยู่มากทีเดียว โดยโรคนี้จะมีพาหะเป็น ยุง ที่ไปกัดสุนัขที่มีตัวอ่อนของพยาธิที่เจริญเป็นระยะติดโรค และเมื่อยุงตัวเดียวกันนี้ไปกัดแมว ก็จะปล่อยตัวอ่อนเข้าไปสู่กระแสเลือดที่ปอด และจะใช้เวลา 5-6 ถึง 7-8 เดือน ในการเจริญไปเป็นตัวเต็มวัย

ซึ่งก็เป็นอีกโรคที่มักจะมาพร้อมกับหน้าฝน ยิ่งประเทศไทยแล้วด้วยแอดบอกเลยว่ายุงชุมสุดๆ ไปเลยล่ะ ใครที่บ้านน้ำขังเยอะก็อย่าลืมหมั่นกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงกันด้วยน้าา 

 

 อาการ

  • อาการแบบเรื้อรัง ในเคสที่อาการไม่รุนแรงมาก แมวที่ติดโรคนี้จะมีอาการเบื่ออาหาร อ่อนแรง และมีอาการคล้ายกับแมวที่เป็นโรคหอบหืด (บางรายถ้าไม่ร้ายแรงมากน้องจะยังสามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง) 
  • อาการเฉียบพลัน จะเกิดภาวะปอดอักเสบอย่างรุนแรง มีอาการไอ จาม และหายใจลำบากอย่างเห็นได้ชัด จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ทันที!

 

แนวทางการป้องกัน

  • ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรค พยาธิหนอนหัวใจในแมว ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดคือการป้องกันเป็นประจำทุกๆ เดือนจ้าา
  • หมั่นตรวจสุขภาพให้สม่ำเสมอ เพราะว่าแมวที่ติดโรคนี้จะใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะแสดงอาการ และในบางรายเมื่อมีอาการก็ยังคงสังเกตได้อย่างยากลำบาก อย่างไรก็ตามถ้าพบว่าน้องมีอาการในช่วงนี้ก็ควรเร่งไปพบคุณหมอเพื่อตรวจหาโรคทันทีน้า
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของยาหยอดหลัง หยดป้องกันเพียงเดือนละครั้ง โดยที่ตัวยาจะซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อมียุงมากัดน้อง ยาที่อยู่ในกระแสเลือดก็จะทำการฆ่าเชื้อตัวอ่อนพยาธิทันที  เรียกว่าเป็นอีกวิธีในการตัดไฟแต่ต้นลมจ้าา
  • ควรเลี้ยงแมวเป็นระบบปิด (Indoor)  ซึ่งจะมีโอกาสเสี่ยงติดโรคได้น้อยกว่าแมวที่เลี้ยงแบบระบบเปิด (Outdoor)

 

 

โรคฉี่หนู 

โรคฉี่หนูเกี่ยวข้องอะไรกับสัตว์เลี้ยงของเรา? จริงๆ แล้วโรคฉี่หนู หรือโรคเล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เกี่ยวข้องกันทั้งสัตว์เลี้ยง และเจ้าของสัตว์เลี้ยง เพราะเป็นโรคจากสัตว์สู่คนที่ส่วนใหญ่มี "หนู" เป็นพาหะแพร่กระจายผ่านทางน้ำที่มีการปนเปื้อนหรือจากปัสสาวะของสัตว์ที่มีการติดเชื้อ อันตรายถึงชีวิตสำหรับสัตว์เลี้ยงและคนเลี้ยง (งานนี้คนเลี้ยงมีเหงื่อตกกันบ้างแล้วละจ้าา)

โรคนี้จะระบาดหนักมากในช่วงหน้าฝน ซึ่งก็คือช่วงนี้พอดีเลยย เชื้อมักจะปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง ดิน โคลน ต่างๆ น้องหมา แมว สามารถติดเชื้อได้จากการสัมผัสฉี่หนูที่เป็นโรคได้โดยตรง หรือจากทางบาดแผลเปิด แอดบอกเลยว่าถ้าฝนตกน้ำท่วมถ้าเป็นไปได้ก็พยายามทำให้เท้าของเราแห้งไว้จะดีที่สุดนะ รวมทั้งอย่าให้สัตว์เลี้ยงของเราไปอยู่ใกล้กับสถานที่เปียกชื่นเป็นเวลานาน เพราะอาจเสี่ยงติดโรคได้นะจ๊ะ

 

อาการ

  • อาการเฉียบพลัน น้องที่ติดเชื้อจะมีไข้สูงมาก และสำหรับลูกสุนัขและแมวจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 80% เลยทีเดียวน้าา น่ากลัวสุดๆ
  • อาการกึ่งเฉียบพลัน ที่พบเห็นได้ทันทีก็คือน้องจะมีไข้ เซื่องซึม ไม่อยากอาหาร ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสวะเป็นเลือด เกิดภาวะโลหิตจาง และอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของสัตว์เลี้ยง
  • ไม่แสดงอาการ อาจน่ากลัวกว่าสองอาการข้างต้น เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าน้องติดเชื้อไปบ้างรึยัง และที่สำคัญคือเมื่อเราไม่รู้ว่าสัตว์เลี้ยงติดเชื้อรึเปล่า เราก็อาจจะปล่อยปะละเลย จนอาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อสู่สัตว์ตัวอื่นๆ และคนอื่นๆ อีกด้วย

 

 แนวทางการป้องกัน

  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคฉีหนูให้กับน้องหมา / น้องแมว ของเรา
  • หลีกเลี้ยงการไปยังสถานที่ที่มีแหล่งน้ำท่วมขัง หรือถ้าหากจำเป็นต้องไปก็ต้องมีการป้องกันตัวเองไม่ให้เท้า หรือบาดแผลสัมผัสกับน้ำบริเวณนั้น
  • ไม่สัมผัสปัสสาวะ อุจจาระ หรือสารคัดหลั่งจากสัตว์เลี้ยงโดยตรง
  • หมั่นทำความสะอาดบริเวณที่อยู่อาศัยเป็นประจำ เพื่อสุขอนามัยที่ดีให้กับสัตว์เลี้ยงและกับตัวเราด้วยนะ

 

 

โรคระบบทางเดินหายใจในสัตว์เลี้ยง 

บางคนอาจมองว่าก็แค่เป็นหวัด แป๊บๆ เดี๋ยวก็หาย แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิดถนัดเลยนะ เพราะโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจไม่ได้มีเพียงไข้หวัดธรรมดา แต่ยังมีไข้หัดสุนัขที่ทำลายทั้งระบบทางเดินหายใจและระบบประสาท ทำให้เสียชีวิตได้ในทันที! พบได้ในสัตว์เลี้ยงทุกชนิด ทุกเพศ ทุกวัย แต่ส่วนใหญ่มักจะพบได้ในสัตว์เลี้ยงอายุน้อย ที่ยังมีระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์

ซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายมากผ่านการสัมผัสกับสัตว์ที่ป่วยเป็นโรค หรือมีเชื้อนี้โดยตรง ยิ่งใครที่มีสัตว์เลี้ยงหลายตัว ยิ่งต้องดูแลให้ใกล้ชิดกว่าเดิม ควรจับแยกเพื่อป้องกันการติดโรคสู่สัตว์เลี้ยงตัวอื่นๆ โดยสาเหตุหลักๆ มาจากแบคทีเรีย ไวรัส ฝุ่น หรือความเย็นที่ทำให้เกิดการระคายเคือง ฯลฯ  

 

อาการ

  • มีน้ำมูก ขี้ตาเปียก ไอ จาม ร่างกายอ่อนแอ ซึม เบื่ออาหาร
  • หายใจกระแทก หายใจหอบจนลิ้นม่วงเนื่องมาจากภาวะการขาดอากาศออกซิเจน
  • ถ้าระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็อาจทำให้เสียชีวิตได้

 

แนวทางการป้องกัน

  • หากพบสัตว์เลี้ยงที่มีอาการทางเดินหายใจ ควรแยกสัตว์เลี้ยงออกจากตัวอื่นๆ โดยไม่ใช่แค่แยกโดยการกั้นรั้วนะแต่ควรจะแยกให้ไปอาศัยยังบริเวณอื่นๆ ที่เป็นพื้นที่ปิด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อทางอากาศ หรือพูดง่ายๆ ก็คืออย่าใช้อากาศร่วมกัน
  • พยายามไม่ให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในสถานที่แออัด อับชื้น และสกปรก และหมั่นดูแลทำความสะอาดสถานที่ที่อาศัยอยู่
  • พาไปพบสัตว์แพทย์เพื่อรักษาตามอาการ

 

 มาฟังคุณหมออธิบายกันนน

 

 

 

โรคระบบทางเดินหายใจในสัตว์เลี้ยง 

โรคทั่วไปที่พบได้ทั้งในสุนัขและแมว ซึ่งอาจมองเผินๆ ว่าไม่ได้ร้ายแรงอะไร หากแต่ปล่อยทิ้งไว้นานก็อาจลุกลามจนส่งผลต่อวิถีชีวิตของสัตว์เลี้ยงของเราได้เลยนะ โดยมีสาเหตุหลักมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย หรือภูมิแพ้ ในกรณีที่เกิดจากเชื้อราจะมาจากเชื้อราชนิด Microsporum canis หรือ Trichophyton mentagrophytes ซึ่งคนไทยรู้จักกันดีในชื่อ โรคกลากนั่นเอง ซึ่งมักจะอาศัยอยู่ในบริเวณผิวหนัง เส้นขน ตามซอกเล็บ หรือพื้นที่อับของร่างกาย

 

อาการ

  • ขนจะร่วงเป็นวงเล็กๆ และรัสมีจะขยายใหญ่ขึ้น จนกระจายไปทั่วทั้งตัวเป็นวงกว้าง 
  • เลียฝ่าเท้า เกา ผิวหนังแดงเป็นสะเก็ดจนหลุดลอก และบางครั้งอาจแพร่เชื้อมาสู่คนได้ด้วยนะ

 

แนวทางการป้องกัน

  • หมั่นทำความสะอาดด้วยการอาบน้ำให้เป็นนิสัย
  • การไถขนออกเพื่อกำจัดบริเวณที่เป็นจุดกำเนิดเชื้อรา
  • บางรายที่ปล่อยทิ้งไว้นาน ควรรีบพาไปพบคุณหมดเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

 


สรุปให้ก่อนไปดูแลน้อง

  • ถ้าเลี้ยงน้องหมาแมวกันแล้วก็ต้องมีความรับผิดชอบในชีวิตของเค้ากันด้วยน้าา ใครที่ต้องออกจากบ้านห่างไกลสัตว์เลี้ยงอยู่บ่อยๆ ก็ลองหาตัวช่วยเป็นกล้องวงจรปิดส่องหมาแมวไว้ดูความเป็นไปของน้องกันได้เลยน้าา
  • การรักษาความสะอาดและให้อาหารที่ถูกสุขลักษณะคือจุดเริ่มต้นของการสร้างสุขภาพที่แข็งแรงของทั้งสัตว์เลี้ยงและคน
  • ถ้าไม่มั่นใจว่าน้องป่วยหนักหรือไม่ ก็ควรเร่งไปพบสัตว์แพทย์เพื่อวินิฉัยโรค และทำการรักษาอย่างถูกต้อง
  • สัตว์เลี้ยงคือส่วนหนึ่งของครอบครัว จงดูแลเค้าให้เหมือนกับคนๆ หนึ่งด้วยความจริงใจ

 

ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

  • avatar writer
    โดย Belt
    Temporary content writer
แสดงความคิดเห็น