รับมือ 'ลองโควิด' พร้อมวิธีป้องกันให้อยู่รอดปลอดภัยทุกซีซั่น

avatar writer
โดย : wacheese
avatar writer25 ก.พ. 2565 avatar writer634
รับมือ 'ลองโควิด' พร้อมวิธีป้องกันให้อยู่รอดปลอดภัยทุกซีซั่น

 

ยังคงต่อเนื่องกับโควิด-19 พี่กลายพันธุ์ไม่หยุดหย่อนและไม่มีท่าทีจะพัก ล่าสุดมีมาใหม่อีกแล้วกับ 'ลองโควิด' คืออะไรก่อน หนูจะลอง (long) ไปถึงไหน นี่ลากยาวมา 2 ปีกว่าแล้ว หยุดลองก่อนได้มั้ย นักวิทยาศาสตร์ก็คือพัฒนาวัคซีนไม่ทันแล้ว แล้วจะต้องฉีดวัคซีนไปอีกกี่เข็มถึงจะพอ นี่ก็ล่อไป 3-4 เข็มแล้ว ฉีดจนไหล่จะพรุน แหย่จมูกจนบานหมดแล้วแม่ นี่คิดถึงชีวิตที่ไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัยเข้าหากันแล้ว ฮือ 😭 

 


 

โรคลองโควิด

 

รู้จัก 'ลองโควิด' พร้อมวิธีรับมือ

 

ก่อนหน้านี้มีข่าวอึกทึกครึกโครม ที่ทำเอาหลายคนตกอกตกใจจนเกือบเสียสติ จากข่าวของเด็กชายอายุ 2 ขวบเสียชีวิต โดยแพทย์วินิจฉัยว่าเป็น 'โรคลองโควิด' ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบมาก่อนในประเทศไทย นั่นทำให้หลายคนเกิดความวิตกกังวล 'เปย์เป้' เองก็เช่นกัน อย่างนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักกับวายร้ายอย่างลองโควิด เพื่อที่จะได้เตรียมตัวรับมือ และสังเกตอาการของตัวเองกัน 👇🏼 

 

'ลองโควิด' คืออะไร ?

 

'ลองโควิด' (Long COVID) หรือ Post Covid-19 Syndrome คือ ภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ เชื้อโควิดหายจากร่างกายไปแล้ว แต่บางอาการกลับไม่หายไปด้วย

 

เป็นอาการเจ็บป่วยที่ไม่มีลักษณะตายตัว อาจเหมือนหรือต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งผลกระทบของ Long COVID สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ, ระบบประสาท, ระบบทางเดินอาหาร, หัวใจ และหลอดเลือด ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเดิม ซึ่ง มีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว

 


 

สาเหตุโรคลองโควิด

 

สาเหตุของ 'ลองโควิด' คืออะไร ?

 

เนื่องจากสาเหตุของลองโควิดยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด แต่มีการสันนิษฐาน ดังนี้ 👇🏼 

 

  • เชื้อโควิด-19 อาจทิ้งร่องรอยความเสียหายในอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

 

ทำให้อวัยวะที่เกิดความเสียหายนั้นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หากเกิดความเสียหายที่บางส่วนของสมอง อาจเกิดภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome) หรือหากมีความเสียหายที่ปอด ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติเวลาหายใจ เช่น หายใจถี่ เหนื่อยหอบง่าย เป็นต้น

 

  • การทำงานของภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติไป

 

อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงดีมาก กลายเป็นว่าเมื่อหายจากโควิด-19 แล้ว ภูมิคุ้มกันอาจหันมาทำลายเซลล์ในร่างกายของเราเอง

 

  • ยังหลงเหลือชิ้นส่วนของไวรัสโควิด-19 ในร่างกาย

 

อาจเป็นชิ้นส่วนที่ไม่ทำงานแล้ว หรือยังทำงานได้อยู่ เป็นผลไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเราให้ต่อต้าน จนมีอาการป่วยเกิดขึ้น

 


 

โรคอ้วน

 

เช็ค! กลุ่มเสี่ยงเป็น 'ลองโควิด' ได้ง่าย

 

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
  • ผู้ที่ในขณะติดเชื้อโควิด-19 มีอาการรุนแรง กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการเกิด Long COVID ได้มากกว่ากลุ่มที่ติดเชื้อและไม่มีอาการ

 

แต่ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนัก หรือผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ ก็สามารถมีโอกาสที่จะเกิดอาการลองโควิดได้เช่นเดียวกัน แต่จะไม่พบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันที่ได้จากการรับวัคซีน

 


 

อาการลองโควิด

 

เช็ค! อาการ 'ลองโควิด' เข้าข่ายข้อไหนกันบ้าง ?

 

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ข้อมูลว่าอาการลองโควิด มีความเป็นไปได้ที่หลากหลายมาก มีทั้งอาการที่คล้ายกับตอนเป็นโควิด-19 และอาการที่ดูไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่มีลักษณะอาการร่วมที่พบได้บ่อย ได้แก่

 

  • อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย 
  • มีอาการหายใจถี่ หรือหายใจไม่ทัน หอบเหนื่อย
  • ใจสั่น รู้สึกแน่น หรืออึดอัดบริเวณหน้าอก
  • ความจำสั้น สมาธิสั้น หรือรู้สึกสมองล้า
  • มีไข้ ไอ ปวดหัว เจ็บคอ
  • มีการรับรสหรือได้กลิ่นน้อยลง
  • ปวดตามข้อต่อต่างๆ
  • นอนไม่หลับ หลับยาก
  • เวียนศีรษะ
  • ปวดท้อง ท้องเสีย ไม่อยากอาหาร
  • มีผื่นขึ้นตามตัว
  • อาจมีภาวะซึมเศร้า หรือวิตกกังวล

 

แต่ในเด็กหลังติดโควิด อาจพบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ที่เรียกว่า MIS-C หรือ Multisystem inflammatory syndrome in children ซึ่งเป็นภาวะหลังจากที่เด็กติดโควิดแล้ว เกิดอาการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่สูงผิดปกติ อาจมีอาการคล้ายโรคคาวะซากิ เช่น มีไข้สูง ผื่น ตาแดง ปากแดง ซึ่งอาจมีอาการรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาในไอซียู หรือมีภาวะแทรกซ้อนทำให้เสียชีวิตได้

 


 

รักษาลองโควิด

 

ไขข้อข้องใจ 'ลองโควิด' รักษาได้มั้ย ?

 

หากแพทย์วินิจฉัยว่ามีอาการของลองโควิดแล้ว ในช่วงที่รักษาตัวอยู่ที่บ้านจะต้องเน้นดูแลร่างกายเป็นพิเศษ เพื่อลดผลกระทบจากการอักเสบ เพราะโควิด-19 ทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกายได้

 

  • จัดเต็มเน้นโปรตีน

 

อาหารโปรตีนมีส่วนช่วยในการซ่อม สร้าง และเสริมเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย จึงควรกินอาหารที่มีโปรตีนเยอะ เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ถั่วชนิดต่าง ๆ แต่จะต้องกินในสัดส่วนที่เหมาะสมกับร่างกายตัวเอง 

 

  • งดแป้งขัดสี

 

การกินอาหารประเภทแป้งไม่ขัดสี อย่างข้าวกล้องหอมมะลิ ขนมปังโฮลวีท จะช่วยลดอัตราการดูดซึมน้ำตาลที่เร็วเกินไป เพราะน้ำตาลมีส่วนเพิ่มโอกาสการอักเสบ

 

  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

 

นอกจากการเลือกกินอาการที่ช่วยฟื้นฟูอาการลองโควิดแล้ว การออกกำลังกายที่เหมาะสมก็สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้ อาจเริ่มจากท่าออกกำลังกายเบา ๆ เน้นการเคลื่อนไหวช้า ๆ ให้มากที่สุ เพราะลดผลกระทบต่อปอด หรืออวัยวะต่าง ๆ ที่อาจมีส่วนเสียหาย หรือทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ

 


 

ป้องกันลองโควิด

 

วิธีป้องกัน 'ลองโควิด' อย่างง่ายและเห็นผลจริง

 

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 
  • สวมใส่หน้ากากที่คลุมบริเวณปากและจมูกอย่างมิดชิด
  • รักษาระยะห่าง โดยอยู่ห่างจากผู้อื่นประมาณ 1.5-2 เมตร เลี่ยงบริเวณแออัด และอากาศถ่ายเทไม่สะดวก 
  • ล้างมือบ่อย ๆ 

 

ที่มา : โรงพยาบาลรามคำแหง , โรงพยาบาลพระราม 9 , โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล หนองแขม , โรงพยาบาลสมิติเวช , รามาแชนแนล


 

แม้เจ้า 'ลองโควิด' ว้ายร้ายสายพันธุ์ใหม่จะน่ากลัวและอันตรายถึงชีวิต แต่ก็มีวิธีป้องกันที่เราสามารถปฏิบัติตามได้ง่าย ๆ อย่างการสวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง หรือแม้กระทั่งการล้างมือบ่อย ๆ เพราะบางทีเราอาจเผลอหยิบจับสิ่งของที่มีเชื้อโรค และวิธีที่เห็นผลที่สุดคงหนีไม่พ้น 'การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19' อย่าลืมรักษาสุขภาพกันด้วยนะ ด้วยรักและห่วงใยจาก 'เปย์เป้' เอง 😊 

แสดงความคิดเห็น