อันตราย! XBB.1.16 อาร์คตูรุส สายพันธุ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดทั่วโลก และจะมาแทนที่ทุกสายพันธุ์

avatar writer
โดย : wacheese
avatar writer18 เม.ย. 2566 avatar writer255
อันตราย! XBB.1.16 อาร์คตูรุส สายพันธุ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดทั่วโลก และจะมาแทนที่ทุกสายพันธุ์

 

😷

ผ่านพ้นเทศกาลสงกรานต์ 2566 แล้ว หลายคนคงได้พักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม ทั้งได้กลับภูมิลำเนา เดินทางออกต่างจังหวัด หรือไปสังสรรค์พบปะผู้คนในช่วงวันหยุดยาว แต่หลังจากนี้อาจต้องกลับมาสวมหน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่างเพื่อป้องกันเชื้อโควิด-19 เพราะปัจจุบันสถานการณ์ยอดผู้ป่วยโควิด-19 ช่วงเทศกาลสงกรานต์เพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว

 


 

| ระวัง! XBB.1.16 สายพันธุ์โควิด-19 อาร์คตูรุส |

 

เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 66 ที่ผ่านมา กรมอนามัย เปิดเผยสถานการณ์ยอดผู้ป่วยโควิด-19 ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ 9-15 เม.ย. 66 พบว่ามีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในโรงพยาบาล จำนวน 435 คน เฉลี่ยวันละ 62 คน เพิ่มขึ้นเป็น 7 เท่าจากสัปดาห์ที่ผ่านมา และวันที่ 2-8 เมษายน 2566 ที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 168 คน เฉลี่ยวันละ 24 คน นอกจากนี้ยังพบการแพร่ระบาดของเชื้อสายพันธุ์โควิด XBB.1.16 หรือ "อาร์คตูรุส" ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก

 

ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โควิด XBB.1.16 แล้ว จำนวน 8 คน

 

*ข้อมูล ณ วันที่ 16 เม.ย. 66

 


 

XBB.1.16

 

| ความรุนแรงของ สายพันธุ์ XBB.1.16

 

สำหรับสายพันธุ์ XBB.1.16 มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พบเชื้อแล้วใน 22 ประเทศ โดยเฉพาะประเทศอินเดีย 🇮🇳 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเชื่อว่า XBB.1.16 มีแนวโน้มแทนที่สายพันธุ์อื่น ๆ ทั้งหมดในที่สุด หรือกลายมาเป็นสายพันธุ์หลักที่จะระบาดในช่วงต่อไป

 

1. XBB.1.16 ยังไม่พบว่ามีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์โอมิครอนอื่น ๆ

 

2. XBB.1.16 ยังไม่พบพบอาการรุนแรงอื่น ๆ เพิ่มเติม อย่างที่หลายคนกังวลกัน

 

3. XBB.1.16 ยังไม่พบว่ามีความสามารถในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากวัคซีน ได้มากกว่าสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์อื่น ๆ ที่พบในขณะนี้

 

ปัจจุบันสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดในประเทศไทย ยังอยู่ในตระกูลโอมิครอน โดยสายพันธุ์หลักเป็นสายพันธุ์ลูกผสม XBB และพบยังว่า สายพันธุ์ XBB.1.5 และ XBB.1.9.1 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น 

 


 

โควิด-19

 

| การรับมือโควิด-19 สายพันธุ์ XBB.1.16 

 

กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการเตรียมความพร้อมรับมือผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการของโรค ผู้ที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการแต่ไม่รุนแรง จะได้รับการรักษาตามอาการ และกลับไปรักษาต่อที่บ้านได้

 

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงและโรคประจำตัว จะได้รับการวินิจฉัยให้ยาต้านไวรัสตามความเหมาะสม แต่จะเฝ้าระวังเป็นพิเศษในกลุ่มผู้ที่มีปอดอักเสบรุนแรง และมีภาวะพร่องออกซิเจนร่วมด้วย ⚠️ แต่หากมีอาการ ไอ เจ็บคอ มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ มีน้ำมูก ปวดศีรษะ หายใจลำบาก หรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ให้ใช้ชุดตรวจ ATK เพื่อความมั่นใจ รวมทั้งสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หรือรีบปรึกษาเจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุขทันที

 

นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มสุดท้าย เป็นระยะเวลา 4 เดือน ควรเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งจะสามารถลดอาการรุนแรงของโรค และป้องกันการเสียชีวิตได้

 

💉 บทความที่เกี่ยวข้อง

  • อัปเดต! จุดฉีดวัคซีนไบวาเลนท์ ฝาสีเทา ฉีดฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ทั้ง 69 แห่ง คลิก
  • ฟรี! วัคซีนไบวาเลนท์ ฉีดฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ที่สถาบันโรคผิวหนัง และโรงพยาบาลราชวิถี เฉพาะเดือน มี.ค. 66 นี้เท่านั้น คลิก

 

🔗 ข้อมูลอ้างอิง กรมอนามัย, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, BBC News ไทย

 

แสดงความคิดเห็น