SPAM (สแปม) เนื้อกระป๋องที่คนอเมริกันเบือนหน้าหนี สู่วัตถุดิบที่คนเกาหลีโปรดปราน

avatar writer
โดย : imnat
avatar writer22 ก.ค. 2565 avatar writer12.2 K
SPAM (สแปม) เนื้อกระป๋องที่คนอเมริกันเบือนหน้าหนี สู่วัตถุดิบที่คนเกาหลีโปรดปราน

 

ขอเสียงคนที่เป็นสายเกาหลี และมักจะอินกับบรรดาซีรีส์ รวมไปถึงรายการวาไรตี้เกาหลีกันหน่อย~

 

เชื่อว่าหลายคนที่เป็นสายเกา น่าจะเคยเห็นหน้าค่าตาของเจ้า SPAM (AKA เนื้อกระป๋อง หรือบางคนอาจจะเรียกกันว่าแฮมกระป๋อง) ที่มักจะโผล่มาให้เห็นกันบ่อย ๆ ไม่ว่าจะจากในซีรีส์ รวมไปถึงวาไรตี้เกาหลีก็ตาม ซึ่งใครจะไปรู้ว่าไอ้เจ้าเนื้อกระป๋องที่ถูกแล่ให้เป็นแผ่นบาง ๆ ก่อนจะนำมาทอดแล้วทานคู่กับไข่ดาว กิมจิ หรือจะถูกนำไปใส่ในหม้อบูเดชิเกเนี่ย แท้จริงแล้วมันไม่ใช่วัตถุดิบที่มาจากประเทศเกาหลีแต่อย่างใด แต่มันมาจากวัตถุดิบที่ประเทศผู้ให้กำเนิดแทบจะร้องยี้ใส่

 

แล้วทำไมจู่ ๆ มันถึงได้กลายมาเป็นวัตถุดิบที่คนเกาหลีคลั่งไคล้ขึ้นมาเฉย มาจ้ะ เดี๋ยวคอนเทนต์นี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเนื้อกระป๋องที่คน ทั้งรักทั้งเกลียด  ยี่ห้อนี้ให้มากขึ้นกัน !

 


 

จากเนื้อกระป๋องที่คนอเมริกันเบือนหน้าหนี

สู่วัตถุดิบที่คนเกาหลีโปรดปราน

 

อย่างที่หลายคนน่าจะรู้กันดีว่าประเทศเกาหลีเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความเป็นชาตินิยมมากแค่ไหน ซึ่งนั่นก็แปลว่าถ้าเกิดจะมีสินค้าจากต่างประเทศอะไรสักอย่างที่สามารถสร้างอิทธิพลต่อคนเกาหลีส่วนใหญ่ได้ สินค้าตัวนั้นจะต้องมีอำนาจมากพอสมควร ที่จะสามารถเปลี่ยนความคิด และทัศนคติดั้งเดิมของคนเกาหลี ให้กลายมาเป็นอีกแบบนึงได้ แบบชนิดที่ว่าจากหน้ามือกลายมาเป็นหลังมือ ซึ่งหนึ่งในบรรดาสินค้าที่มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนเกาหลีได้สำเร็จ หนึ่งในนั้นก็ได้แก่ SPAM

 

เหตุการณ์ The Great Depression ภาพจาก britannica

 

ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของ SPAM ในปี ค.ศ. 1937 ที่ต้องบอกเลยว่า SPAM เปิดตัวมาได้ถูกที่ถูกเวลาดีมาก ๆ  เพราะท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ จนถึงขั้นทำให้ประเทศมหาอำนาจอย่างอเมริกาประสบกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในรอบ 100 ปี (หรือที่เรียกกันว่า The Great Depression) ซึ่งไอ้เจ้าวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบทำให้ประชากร รวมถึงบรรดาธุรกิจที่อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ รวมไปถึงทวีปยุโรปได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า โดยความรุนแรงของมันส่งผลทำให้บรรดาธุรกิจส่วนใหญ่ล้มคว่ำประหนึ่งโดมิโน

 

และนอกจากกลุ่มธุรกิจจะได้รับผลกระทบไปแบบเต็ม ๆ แล้ว ประชาชนชาวอเมริกันในตอนนั้นก็ยังประสบกับปัญหาว่างงานด้วยเช่นกัน รายได้ที่เคยได้รับกลับชะงักตัวลง ผลผลิตทางการเกษตรก็ขายไม่ได้ ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องเร่ขายที่ดินเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว ซึ่งพอมีปัญหาด้านเศรษฐกิจอยู่แบบนี้ การมาของเนื้อกระป๋องราคาถูกอย่าง SPAM เลยกลายเป็นเหมือนพระเอกขี่ม้าขาวเลยก็ว่าได้  เพราะนอกจากมันจะมีราคาที่ถูกมาก ๆ แล้ว มันยังสามารถเก็บไว้ข้างนอกตู้เย็นได้ แถมยังเก็บได้นานเป็นเดือน ๆ การมาของมันเลยเหมือนตัวช่วยชีวิตเหล่ามนุษยชาติที่กำลังประสบปัญหาอยู่ในตอนนั้นได้เป็นอย่างดี ให้สามารถหาเนื้อดี ๆ (ที่พอจะหาได้ในตอนนั้น) ทานได้ แถมเงินในกระเป๋าก็ยังเพียงพอต่อการจ่ายให้มันอีกด้วย

 

ภาพทหารของกองทัพสหรัฐที่กำลังนั่งทานเนื้อกระป๋อง ภาพจาก Defensemedianetwork

 

หลังจากได้รับการอวยยศให้เป็น พระเอกขี่ม้าขาว  ที่เข้ามาช่วยเหลือคนอเมริกันให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจได้แล้ว หลังจากนั้นไม่นาน ก็ถึงการมาของสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งงานนี้ พระเอกขี่ม้าขาวของเรา ก็ยังทำหน้าที่เป็นเสบียงสำคัญที่ถูกส่งให้กับทหารในกองทัพด้วยเช่นกัน แต่ต้องบอกก่อนว่าในตอนนั้น ผลิตภัณฑ์แปรรูปในรูปแบบของเนื้อกระป๋องไม่ได้มีแค่ SPAM เจ้าเดียวแล้วนะ แต่ยังมีอีกหลายเจ้าเลยที่ถูกส่งให้กับทหารในกองทัพ รวมไปถึงบรรดาพันธมิตรที่อยู่ในประเทศอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

 

แต่ด้วยนิสัยของคนเรา ถ้าจะให้อยู่กับอะไรเดิม ๆ เป็นระยะเวลานาน เชื่อเถอะว่ามันจะต้องมีความรู้สึก 'เบื่อ' เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งก็นั่นแหละ...  ความรู้สึกของทหารอเมริกันตอนนั้น ก็เป็นแบบนั้นเลยจ้ะ ลองนึกภาพตามกันดูว่า ทหารอเมริกันจะต้องใช้ชีวิตอยู่กับเจ้าเนื้อกระป๋องตลอดทั้ง 3 มื้อ ตื่นเช้ามาก็กิน กลางวันก็กิน ตกเย็นมาก็ยังต้องกินอีก มันเลยทำให้พวกเค้าเริ่มที่จะเอือมระอากับรสชาติที่ซ้ำซากและจำเจของ SPAM กันแล้ว คิดดูก็แล้วกัน ว่าเสียงบ่นที่อื้ออึงเหล่านี้ดันลอยตกไปถึงหูของสำนักข่าวอย่าง The New Yorker เข้าจนได้ แต่ทางบริษัทผู้ผลิตเนื้อกระป๋องอย่าง SPAM ก็ได้ตอกกลับกับทางสำนักข่าวแบบเชิ่ดหน้าใส่ว่า

 

"ต่อให้พวกเค้า (ทหาร) จะคิดว่าการกิน SPAM มันห่วยแตกแค่ไหน

แต่พวกเค้าก็ยังจะต้องกินเนื้อพวกนั้นต่อไป จนกว่าสงครามจะสิ้นสุดลง"

Jay Hormel เจ้าของบริษัท Hormel Foods ผู้ผลิต SPAM -

 

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เราแทบจะไม่ต้องเดากันเลย ว่าบรรดาประชาชนชาวอเมริกัน โดยเฉพาะทหารอเมริกันเนี่ย จะเข็ดขยาดกับรสชาติของเจ้าเนื้อกระป๋องยี่ห้อนี้มากแค่ไหน ถึงแม้ที่ผ่านมาจะเคยอวยยศมันไว้ว่ายังไง แต่ตอนนี้มันก็เป็นได้แค่เพียง ตัวประกอบธรรมดา ที่ถ้าเลือกได้ ก็ขอเลือกที่จะไม่แตะมันอีกแล้ว

 

แต่ในวิกฤตกลับมีโอกาส เพราะต่อให้ความสัมพันธ์ระหว่าง SPAM กับคนอเมริกันจะไม่ได้ไปต่อ แต่ก็ยังมีบางประเทศที่พร้อมอ้าแขนต้อนรับการมาของวัตถุดิบอันแปลกใหม่นี้อยู่ ซึ่งหนึ่งในประเทศที่พวกเราน่าจะคุ้นเคยกันดี ก็ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้ นั่นเอง

 


 

จาก "Taste of America" เดินหน้าสู่ "Korean Favourite 🇰🇷 "

 

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกาหลีใต้ กับอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นมาจากการเป็นกลุ่มประเทศที่เป็นพันธมิตรกัน ทหารของกองทัพสหรัฐส่วนนึงเลยได้ถูกส่งตัวให้มาพำนักอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งการมาของพวกเค้าเหล่านี้ก็ได้นำเอาวัตถุดิบอย่างเนื้อกระป๋องยี่ห้อ SPAM ติดตัวมาด้วย คนเกาหลีใต้เลยมีโอกาสได้รู้จักกับวัตถุดิบอันแปลกใหม่นี้ขึ้นมา และไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า คนเกาหลีใต้ยังได้ครีเอทเมนูสุดสร้างสรรค์ ที่เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมของ 2 ประเทศเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งนั่นก็ได้แก่ บูเดชิเก หรือหม้อไฟเกาหลี ที่พวกเรารู้จักกันในตอนนี้นี่เอง

 

บูเดชิเก หรือ สตูกองทัพ ที่มีการใส่ส่วนผสมอย่าง SPAM ลงไปด้วย

 

สำหรับจุดเริ่มต้นของบูเดชิเกนี้ มีที่มาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว โดยบูเดชิเกมีอีกชื่อเรียกนึงว่า Army Base Stew หรือสตูกองทัพ  ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ก็จะเป็นการผสมผสานกันระหว่าง อาหารเหลือ หลาย ๆ อย่าง ก่อนจะจับพวกมันโยนใส่หม้อแล้วนำมาต้มให้เป็นแกง ซึ่งหนึ่งในส่วนผสมเหล่านั้นจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก SPAM 

 

สารพัดเมนูที่ทำมาจาก SPAM ของคนเกาหลีนับได้ว่าเป็นการ เปิดโลกของการทาน SPAM ให้กับผู้คนเป็นอย่างมาก  เพราะโดยปกติแล้ว คนอเมริกัน รวมถึงทหารในกองทัพมักจะไม่ทำอะไรกับมันเลย แค่เปิดกระป๋องออกมาแล้วก็ทาน เลยไม่แปลกใจว่าทำไมพวกเค้าถึงได้เกิดอาการเบื่อมันได้เร็ว และนอกจากเมนู บูเดชิเก แล้ว คนเกาหลียังมีการนำมันมาทอดให้กรอบ ก่อนจะทานคู่กับไข่ดาว กิมจิ และข้าวหุงร้อน ๆ แม้ว่าจะดูเป็นเมนูที่ธรรมดา แต่กลับให้รสชาติของอาหารที่อร่อยถูกปากมากกว่าการทานเปล่า ๆ อย่างแน่นอน

 

ตัวอย่าง Premium Gift Set ของ SPAM ที่ปล่อยออกมาวางขายในช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ ภาพจาก CJ

 

ยัง ยังไม่หมดแค่นั้น  เพราะความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่าง SPAM กับประเทศเกาหลีใต้ ยังได้สานสัมพันธ์ต่อเนื่องกันยาว ๆ แม้ว่าสงครามโลกจะสิ้นสุดไปหลายปีแล้วก็ตาม แต่ SPAM หรือเจ้าเนื้อกระป๋องจากอเมริกานี้ ก็ยังกลายเป็นวัตถุดิบที่ ขาดไม่ได้ ของคนเกาหลีกันอยู่ดี ถึงขนาดที่ว่าได้รับการอวยยศให้เป็นวัตถุดิบระดับลักซูรี ที่มักจะนิยมให้เป็นของขวัญกันเนื่องในโอกาสต่าง ๆ แถมความนิยมของมันก็มีแต่จะเพิ่มขึ้น ๆ จนกลายเป็นว่า ประเทศเกาหลีใต้ ได้คว้าอันดับ 2 ประเทศที่มีการบริโภค SPAM มากที่สุดในโลก  ไปในที่สุด คลั่งขนาดไหน คิดดูก็แล้วกัน !

 

โดยวัฒนธรรมการทาน SPAM นี้ ถูกเผยแพร่ไปในสื่อต่าง ๆ ของประเทศเกาหลีบ่อยครั้งมาก ไม่ว่าจะเป็นโฆษณา รายการโทรทัศน์ หนัง ซีรีส์ และล่าสุดยังลามไปถึงคลิปม็อกบัง ซึ่งมันก็เหมือนเป็น Soft Power อย่างนึงที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบขึ้นมา และอย่างที่เรารู้กันดีว่า เกาหลีใต้มีความเป็นชาตินิยมสูง พอมี Soft Power อะไรสักอย่างเกิดขึ้น ผลกระทบของมันก็เลยลามไปได้ไว และส่งผลต่อทัศนคติของคนในประเทศได้ง่าย (แถมยังเร็วมาก ๆ ด้วย)

 

ซึ่งถ้าคนเกาหลีส่วนนึงบอกว่าชอบ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคนเกาหลีอีกส่วนก็จะต้องบอกว่าชอบตามไปด้วย ดังนั้น ความสำเร็จของ SPAM รวมถึงความสัมพันธ์ในระยะยาวของมันกับประเทศเกาหลีใต้ ยังสามารถไปได้ไกลกว่านี้มาก จนเราแทบจะจินตนาการภาพไม่ออกเลยว่า จุดสิ้นสุดของมันจะไปหยุดอยู่ที่ตรงไหน เพราะแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยด้วยซ้ำ

 

ตัวอย่างโฆษณา SPAM ของเกาหลี

 

ตัวอย่างคลิปม็อกบัง SPAM ที่คว้ายอดวิวไปได้กว่า 2.2 ล้านวิว !

 

นอกจาก SPAM จะเป็นเนื้อกระป๋องที่ทำให้คนเกาหลีทั้งประเทศคลั่งไคล้มันได้แล้ว ที่ประเทศอื่น ๆ ในแถบเอเชียเอง ก็ได้มีการอวยยศให้กับเจ้า SPAM ไม่ต่างจากเกาหลีเลยเหมือนกัน แม้ว่าจะไม่คลั่งเท่า แต่ก็ถือว่าได้รับความสนใจไม่แพ้กัน อย่างในประเทศญี่ปุ่นเอง ก็ได้มีการดัดแปลง SPAM ให้กลายมาเป็นหน้าของ Onigiri หรือข้าวปั้นญี่ปุ่น ที่ประเทศฟิลิปปินส์ การมาของ SPAM ได้ทำให้อาหารประจำถิ่น ที่จากเดิมจะเน้นไปที่เนื้อสัตว์จำพวกปลา ก็ได้กลายมาเป็น SPAM แทน

 

แต่อีกหนึ่งประเทศที่ไม่พูดถึงไม่ได้  อย่างที่เราน่าจะรู้กันดีว่า ระดับความคลั่งของประเทศเกาหลีใต้ที่มีต่อ SPAM เรียกได้ว่าคลั่งมากแล้วนะ แต่ก็ยังคว้าอันดับ 2 มาอยู่ดี คำถามคือ แล้วยังมีพื้นที่ไหนที่ให้มากกว่านี้ได้อีก ? บอกใบ้ให้ว่ามันตั้งอยู่ในพิกัดเดียวกันกับประเทศที่เบือนหน้าหนีมันนั่นแหละ ใช่จ้ะ สำหรับอันดับ 1 ประเทศที่มีคนบริโภค SPAM มากที่สุดในโลกนั้นได้แก่ ฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา  นั่นเอง

 

พิพิธภัณฑ์ SPAM ที่รัฐมินนิโซดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ภาพจาก Hormel Foods

 

ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่าง SPAM กับประเทศสหรัฐอเมริกาจะเป็นความสัมพันธ์แบบ รักนะแต่ก็แอบหยิกหลัง แต่ก็ยังมีบางรัฐที่ยังให้ความสำคัญกับ SPAM กันอยู่ หนึ่งในนั้นก็ได้แก่ รัฐมินนิโซตา  จุดเริ่มต้นของโรงงานผู้ผลิต SPAM ที่ปัจจุบันยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ SPAM ด้วย

 

รวมไปถึงเกาะฮาวาย ที่นับได้ว่าบรรยากาศของที่นั่นตรงข้ามกันกับทางเมืองหลวงสุด ๆ เพราะที่นี่เค้าอวยยศให้กับ SPAM แบบออกหน้าออกตามาก  จนถึงขั้นมีสถิติออกมาเลย ว่าที่เกาะฮาวายแห่งนี้ได้มีการบริโภคเนื้อกระป๋องยี่ห้อ SPAM โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 7 ล้านกระป๋องใน 1 ปี !  นับว่าเป็นตัวเลขที่สูงไม่ไหว แม้ว่าตัวหมู่เกาะจะมีขนาดที่เล็กมาก เมื่อเทียบกับเมืองอื่น ๆ ของอเมริกา นั่นเลยพิสูจน์ได้ว่า ระดับความคลั่งของคนฮาวายที่มีต่อ SPAM นั้น ไม่ใช่เล่น ๆ เลยทีเดียว

 

Musubi เมนูที่สร้างสรรค์มาจาก SPAM ที่ได้รับความนิยมมากในหมู่เกาะฮาวาย

 

สำหรับเมนูอาหารยอดนิยมของคนที่นี่ ก็มีหลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับการครีเอทของแต่ละบ้าน แต่เมนู SPAM ที่หาซื้อง่าย และพบเห็นกันได้บ่อยที่สุดก็ได้แก่ Musubi ที่จะให้ความรู้สึกคล้ายคลึงกันกับพวกข้าวปั้น ซึ่งวิธีการทำของมันก็ได้แก่ การนำ SPAM มาจี่บนกระทะ เสร็จแล้วก็นำมาโปะลงบนข้าวที่ถูกปั้นให้เป็นก้อน ๆ ก่อนจะคาดทับด้วยสาหร่ายอีกที คุ้น ๆ มั้ย ให้ฟีลเหมือนซูชิอะไรทำนองนั้นเลยเนอะ 😋 

 


 

เจาะส่วนผสมสุดลึกลับของ SPAM

ในหนึ่งกระป๋อง ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ?

 

หลังจากที่พวกเราได้ทำความรู้จักกับเนื้อกระป๋องยี่ห้อ SPAM กันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว บอกเลยว่าเราจะขาดข้อมูลสำคัญอย่าง ส่วนประกอบ ของมันไปไม่ได้เลย เพราะครั้งนึง SPAM เคยได้ชื่อว่าเป็นเนื้อกระป๋องที่มีส่วนผสมที่ลึกลับมาก  (แถมที่มาของชื่ออย่าง SPAM เอาดี ๆ ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้เลยว่ามาจากอะไร) ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้ว ส่วนผสมของมันไม่ได้มีอะไรที่พิสดารขนาดนั้น โดยส่วนผสมที่อยู่ใน SPAM ช่วงแรก ๆ นั้นมี แค่ 5 อย่างเท่านั้น ได้แก่

  • เนื้อหมูส่วนไหล่ และต้นขาหลัง
  • เกลือ
  • น้ำเปล่า
  • น้ำตาล
  • โซเดียมไนไตรท์ หรือสารกันบูด

 

โดยวิธีการทำก็แค่นำส่วนผสมทั้ง 5 อย่างนี้มาบดแล้วก็ผสมเข้าด้วยกัน ก่อนจะนำไปผ่านกรรมวิธีถนอมอาหาร เสร็จแล้วก็อัดลงในกระป๋อง เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อย แต่ SPAM ที่ผลิตออกมาในช่วงแรก ๆ มักจะมีปัญหาอยู่อย่างนึง นั่นก็คือ เจลาติน  ที่เกาะอยู่บริเวณโดยรอบของเนื้อ หลังจากเปิดกระป๋องออกมาแล้ว ทางบริษัทเลยได้แก้ปัญหาด้วยการเพิ่มส่วนผสมอย่างนึงลงไป ที่จะช่วยลดอัตราการเกิดของเจลาตินได้ โดยส่วนผสมใหม่ที่ถูกเพิ่มเข้ามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 จนถึงตอนนี้ก็ได้แก่ แป้งมันฝรั่ง 

 

 


 

กิน SPAM ยังไง ไม่ให้เบือนหน้าหนี

เคล็ดลับง่าย ๆ เพียงแค่ใส่ความครีเอทลงไปให้ SPAM

 

เคล็ดลับง่าย ๆ ที่จะเข้ามาเพิ่มความน่าสนใจ และลดความน่าเบื่อให้กับเมนูอาหารที่ทำมาจาก SPAM นั้นได้แก่ การใส่ความครีเอทลงไปให้กับเมนูอาหาร  เพราะตั้งแต่ที่เราอ่านมา จนมาถึงตอนนี้ เชื่อว่าทุกคนน่าจะคิดเหมือนกันว่าสาเหตุที่ทำให้คนอเมริกันส่วนใหญ่เบือนหน้าหนีให้กับ SPAM นั้นเป็นเพราะว่า พวกเค้าไม่ได้ใส่ความครีเอทลงไปให้กับมัน แต่สิ่งที่พวกเค้าทำคือการเปิดกระป๋องแล้วก็ทานมันทั้งอย่างงั้น ซึ่งไม่แปลกใจเลย ถ้าวันนึงคนจะเกิดรู้สึกเบื่อมันขึ้นมา

 

ตรงข้ามกัน เหตุผลที่ทำให้คนเกาหลีใต้ยังให้ใจ SPAM ได้อยู่เรื่อย ๆ  ก็เพราะว่าที่บ้านเค้าได้มีการนำวัตถุดิบอย่าง SPAM ไปประยุกต์กับเมนูอาหารประจำชาติสารพัด ทั้งยังมีความพยายามในการหาวิธีใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์เมนูอาหารออกมาได้เสมอ ไม่เชื่อลองไปดูคลิปม็อกบังสักคลิปดูก็ได้ แล้วเราจะพบว่า วิธีการทาน SPAM ของคนเกาหลีใต้นั้น ล้ำกว่าที่คิดไว้เยอะ !

 

สำหรับใครที่อยากจะเดินเข้าสู่วงการเนื้อกระป๋อง แล้วอยากลองทำเมนูอาหารง่าย ๆ จาก SPAM กันดู เราก็มี SPAM หลายสูตรมาป้ายยา เพราะเดี๋ยวนี้นอกจาก SPAM จะสามารถหาซื้อได้ง่ายขึ้นแล้ว มันยังแตกไลน์ย่อยของ SPAM ที่น่าสนใจ ออกมาให้เราได้ทำการหาซื้อไปลองทำกันหลายสูตรเลยแหละ ไม่ว่าจะเป็น... 

 

 

😋 CJ SPAM รส Classic ปริมาณ 340 g (แพ็กเกจเกาหลี)

  • ราคา 239 บาท
  • ช็อปได้ที่นี่ > คลิก

 

 

😋 CJ SPAM สูตร ลดเค็ม ปริมาณ 340 g (แพ็กเกจเกาหลี)

  • ราคา 239 บาท
  • ช็อปได้ที่นี่ > คลิก

 

 

😋 CJ SPAM รส Rich Cheese ปริมาณ 300 g (แพ็กเกจเกาหลี)

  • ราคา 229 บาท
  • ช็อปได้ที่นี่ > คลิก

 

 

😋 CJ SPAM รส MALA ปริมาณ 300 g (แพ็กเกจเกาหลี)

  • ราคา 199 บาท
  • ช็อปได้ที่นี่ > คลิก

 

 

😋 Maling รส Original ปริมาณ 340 g (สแปมสัญชาติจีน)

  • ราคา 77 บาท
  • ช็อปได้ที่นี่ > คลิก

 

 

😋 CJ Luncheon Meat รส Original ปริมาณ 340 g (สแปมสัญชาติเกาหลี)

  • ราคา 175 บาท
  • ช็อปได้ที่นี่ > คลิก

 

*ราคา ณ วันที่ 22 ก.ค. 65


 

💭 ถึงแม้ว่า SPAM จะเป็นวัตถุดิบที่มีจุดเด่นอยู่ที่ สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย (แถมยังง่ายแสนง่าย) แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า ครั้งนึงมันเคยเป็นอาหารที่คนอเมริกันเคยยี้ให้กับมันกันมาก่อน  แม้ว่าตอนนี้ความนิยมที่หลงเหลือไว้ในอเมริกา จะเหลือแค่เพียงบางพื้นที่เท่านั้น แต่ความรักที่ผู้บริโภคมีให้กับมันในประเทศอื่น ๆ ที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ ประเทศเกาหลีใต้ ที่อวยยศ SPAM อย่างกับอะไร แถมยังสร้างสรรค์เมนูอาหารที่มี SPAM เป็นส่วนประกอบออกมาได้อย่างน่ากินไม่ไหว

 

ยังไงก็หวังว่า ระหว่างที่ทุกคนอ่านกันมาจนถึงตอนนี้ คงจะมีเมนู SPAM รออยู่ในหัวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หรือใครที่ยังไม่เคยลองรสชาติของเนื้อกระป๋องเจ้านี้กันมาก่อนเลย ทางเราบอกได้คำเดียวว่า ต้องลอง เพราะแค่จับมาทอดให้เกรียมหน่อย ราดด้วยน้ำมันงานิด ๆ แล้วเอามาทานคู่กันกับข้าวสวยร้อน ๆ บอกเลยว่า แค่นี้ก็อร่อยแล้ว 😋 

 

อ่านบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่


ขอบคุณแหล่งที่มาจาก : eater, scmp และ jsonline

  • avatar writer
    โดย imnat
    เสพติดการอ่าน & ดูหนัง ตอนนี้อยู่ในระหว่างการทำตามความฝันให้สำเร็จ :)
แสดงความคิดเห็น